ข้อมูลอำเภอสารภี
ประวัติความเป็นมา อำเภอสารภีเดิมชื่ออำเภอ“ยางเนิ้ง”ตั้งเป็นอำเภอสารภีเมื่อปีพ.ศ.2434 (ร.ศ.109) อำเภอนี้มีชื่อว่าอำเภอยางเนิ้ง มาจากคำว่า“ต้นยาง”กับ“เนิ้ง”เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่า“โน้มเอน” ปี พ.ศ.2470 เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอสารภี” สารภี เป็นชื่อของไม้ยืนต้นขึ้นในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เป็นดอกไม้ไทยมีสีเหลืองกลิ่นหอมมาก อำเภอสารภีได้ตั้งคำขวัญว่า “ต้นยางใหญ่ ลำไยหวาน เมืองโบราณเวียงกุมกาม พระนอนบวรงาม เชิดชูนามสารภี” ข้อมูลทั่วไป สภาพทั่วไป อำเภอสารภี มีเนื้อที่ประมาณ 97.45 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของจังหวัดเชียงใหม่ ( รวม 60,906.25 ไร่) อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองและอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศ
การปกครอง แบ่งออกเป็น 106 หมู่บ้าน 12 ตำบล ( 11 เทศบาล 1 อบต. ) ประชากร อำเภอสารภีมีประชากรทั้งสิ้น 78,066 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภาคเหนือไม่มีชาวไทยภูเขา (ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2555) การคมนาคมขนส่ง
สภาพเศรษฐกิจ อาชีพ ประชากรมีอาชีพเกษตรกร 70% รับจ้าง บริการ 20% ธุรกิจและอื่นๆ 10% มีรายได้เฉลี่ย 54,980.60 บาทต่อคนต่อปี การเพาะปลูกพืช สวนลำไย 26,883 ไร่ , สวนผัก 34,300 ไร่ (บางส่วนปลูกร่วมในพื้นที่สวนลำไย) พืชไร่ เช่น กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฯลฯ 1,245 ไร่ สถานศึกษา สพฐ. จำนวน 33 แห่ง กรมสามัญ จำนวน 8 แห่ง กรมศาสนา จำนวน 1 แห่ง กศน. จำนวน 1 แห่ง อาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง การสาธารณสุข โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง สถานีอนามัยตำบล จำนวน 12 แห่ง คลินิกเอกชน จำนวน 5 แห่ง การปศุสัตว์ ฟาร์มไก่ไข่ 8 ฟาร์ม และฟาร์มโคนม 14 ฟาร์ม โรงงาน โรงงานขนาดใหญ่ 10 แห่ง ,โรงงานขนาดเล็ก 172 แห่ง, โรงงานแปรรูปน้ำนมดิบ 2 แห่ง สภาพสังคม ลักษณะทางสังคม กึ่งเมือง กึ่งชนบน ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ร้อยละ 97.96 คริสต์ศาสนา ร้อยละ 1.66 อิสลาม ร้อยละ 0.38 โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่ เวียงกุมกาม เวียงกุมกามเป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ในตำบลท่าวังตาล มีโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเขตเวียงกุมกามและใกล้เคียง ที่เป็นส่วนของเวียงกุมกามประมาณ 20 แห่ง กระจัดกระจายในเขตอำเภอเมืองและนอกกำแพงเมืองที่สำคัญๆ เช่น วัดการโถม(ช้างค้ำ) วัดปู่เปี้ย วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดอีก้าง (วัดอีค่าง)วัดธาตุขาว วัดหัวหนอง วัดกู่ป้าด้อม โบราณสถานเวียงกุมกาม
สถานที่ท่องเที่ยว 1. เวียงกุมกาม 2. วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ 3. ต้นยาง อำเภอสารภียังมีเอกลักษณ์ที่สำคัญ ได้แก่ ต้นยางอายุมากกว่า 100ปีซึ่งปลูกเอาไว้เป็นแนวตามสองข้างทาง ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ถึงเขตจังหวัดลำพูน จำนวน 1,202 ต้น โดยเฉพาะในเขตอำเภอสารภีคงเหลือ 989 ต้น 4. วังมัจฉาพญาชมภู ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 บ้านพญาชมภู ตำบลชมภู อำเภอสารภี ผลิตจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 4 ตำบลป่าบง น้ำผึ้งจากดอกลำไย หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 5 ตำบลสารภี ลำไยอบแห้งสีทอง หมู่ที่ 7 ตำบลหนองแฝก และหมู่ที่ 3 ตำบลท่ากว้าง ผลิตภัณฑ์เทียนหอม หมู่ที่ 5 ตำบลหนองผึ้ง |
||
นางสุภาพรรณ บุญถนอม นายอำเภอ |
||
นายชัชวาลย์ ปัญญา ปลัดอาวุโส |
||
นายชัชวาลย์ ปัญญา หน.กลุ่มงาน/ |
นายพงศ์ศักดิ์ เพชรคงแก้ว หน.ฝ่ายความมั่นคง |
นางอลงกรณ์ จันทร์กระจ่าง หน.ฝ่ายทะเบียนและบัตร |