อ่านข่าวประชาสัมพันธ์
หัวข้อข่าว |
งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุเจ้าจอมทอง อ.จอมทอง เชียงใหม่ |
รายละเอียดข่าว |
นายอดิศร กำเนิดศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายวรกิตติ ศรีทิพากร นายอำเภอจอมทอง และคณะศรัทธาสาธุชนชาวอำเภอจอมทอง พื้นที่ใกล้เคียง และจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมพิธีอัญเชิญน้ำสรงพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่วมกันสรงน้ำพระธาตุเจ้าจอมทอง (พระธาตุประจำปีเกิด ปีชวด (หนู)) วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เมื่อวันที่ 19 และ 23 มิถุนายน 2556
ประวัติ
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง จัดให้มีขึ้นทุกปีภายในวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง ตามตำนานกล่าวว่าพุทธสถานแห่งนี้เป็นวัดที่ประดิษฐานพระทักษิณโมลีธาตุ หรือพระธาตุส่วนเศียรเบื้องขวาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การประดิษฐานนี้มิได้เป็นถาวร คือสามารถอัญเชิญ พระธาตุออกมาให้ประชาชนได้สักการะอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เกิดประเพณีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุเข้า-ออกพรรษา ปีละสองครั้ง นับเป็นศาสนพิธีประจำของวัดและแสดงถึงความศรัทธาของประชาชนทั้งใกล้และไกล ซึ่งถือเป็นงานใหญ่และสำคัญอีกงานหนึ่งของชาวจอมทอง ในการสืบทอดมาช้านากว่า 100 ปี
วันที่จัดงาน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ภาคกลาง หรือประมาณเดือน มิถุนายน)
สิ่งน่าสนใจ
แต่ละปีก่อนจะเริ่มงานพิธี 5 วันหรือราววันขึ้น 10 ค่ำ คณะผู้ศรัทธาจะพากันไปที่หอเจ้าใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตวัดพระธาตุฯ เพื่อลงทรงพ่อเจ้าใหญ่ ทำนายทายทักถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับพระธาตุจอมทอง วัด หรือองค์พระธาตุในรอบปีนั้น
เมื่อถึงเช้าวันงาน ผู้คนจะเริ่มทยอยกันเดินทางมาที่วัดเพื่อทำบุญและรอพิธีสรงน้ำ เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์จะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกจากโกศาห้าชั้น ไปใส่ในโกศใบใหม่สำหรับการสรงน้ำโดยเฉพาะ แล้วอัญเชิญโกศขึ้นบนคานทอง มีชาวบ้านอาสาสมัครแต่งตัวเป็นทหารโบราณราว 10 คนเป็นคู่หามรออยู่หน้าแห้พระบรมสารีริกธาตุไปยังพระอุโบสถเพื่อบูชาข้าวปลา อาหาร ตลอดทั้งสองข้างทางวิหารเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่พากันซัดข้าวตอกดอกไม้ใส่ พระบรมสารีริกธาตุ จากนั้นจึงมีการสรงน้ำยังห้องสรงข้างวิหาร
สำหรับน้ำที่ใช้แต่เดิมชาวบ้านถือว่าต้องใช้น้ำจากน้ำแม่กลางผสมกับดอก คำฝอยให้เป็นสีเหลืองอ่อน ปัจจุบันอาจใช้บ้ำประปาบ้างก็ไม่ได้เจือดอกคำฝอย บางคนอาจรองน้ำที่ผ่านโกศแก้วนำกลับไปบูชาหรือนำเอาไปเป็นมนต์รักษาอาการ เจ็บป่วย
ฯลฯ
|